k-rc.net
เกร็ดความรู้เรื่องแบต Li-po

แบตเตอรี่ Li-po ชื่อเต็มๆของมันคือ Lithium polymer เป็น แบตเตอรี่ชนิดใหม่ ที่ทันสมัยที่สุด ของชุดแบตเตอรี่ที่ใช้ในเครื่องบินไฟฟ้า ข้อดีของมันคือสามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าแบบ Nickel Cadmium (NiCd) ถึง 350 % และน้ำหนักที่น้อยกว่า 10 - 20 % โดยประมาณ และอัตราของแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงเอง โดยที่เราไม่ได้ใช้งาน (Self Discharge) อยู่ที่ประมาณ 5% ซึ่ง แบตเตอรี่แบบ NiHM มีอัตราอยู่ที่ 30% และ NiCd ที่ 20% พูดง่ายๆ li-po ดีกว่าครับ ( แต่ข้อเสียของมันคือห้ามใช้จนแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 3.0 v เพราะอาจเสียหายได้)แบตเตอรี่ li-po แต่ละก้อนโดยปกติจะระบุ spec ของมันเองไว้อย่างชัดเจนเช่น ระบุจำนวน V , mAh และค่า C เอาไว้

ตัวย่อ V , Mah , C ของแบต lipo คืออะไร
V : ย่อมาจาก voltage หมายถึง ระดับแรงดันของตัวแบต lipo โดยปรกติแรงดันจากแบตชนิด Ni-cd , Ni-MH จะมีแรงดันต่อเซลล์ ที่ 1.2 โวลท์. แต่แรงดันของแบต lipo ต่อ 1 เซลล์ จะเท่ากับ 3.7 โวลท์.
mAh : ย่อมาจาก mili-ampere hours
หมายถึง ความจุต่อชั่วโมง ที่สามารถจ่ายได้ จนแบตเตอรี่หมด เช่นแบตขนาด 1000 mAh หากนำไปต่อกับเครื่องใช้ ที่ใช้กะแส 1000mA แบตก้อนนี้จะจ่ายกระแสไฟได้ 1 ชั่วโมง ก่อนจะหมดประจุ
ค่า C คือ ความสารมารถในการจ่ายกระแสสูงสุดต่อเนื่อง และคงที่
การคำนวน ค่า C ของ lipo
mAh x ค่า C / 1000 = ค่าการจ่ายกระแสสูงสุด
ตัวอย่างเช่น หากที่ตัวแบตเตอรี่ ระบุไว้ว่า 7.4V 1,000 mAh 20C
หมายถึงแบตเตอรี่มีความสามารถจ่ายกระแสไฟได้ที่
1,000 mAh x 20C = 20,000 mA = 20 Amps เลยทีเดียว ( ค่า " C " ยิ่งมากยิ่งจ่ายไฟได้แรง )

การแพคแบตเตอรี่ lipo
มีการแพคอยู่ 2 ลักษณะเหมือนแบตเตอรี่ทั่วไป
1. แบบอนุกรม (Series)
การต่อแบบนี้เพื่อเป็นการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า คือ
1 Cell = 3.7 V
2 Cells = 7.4 V
3 Cells = 11.1 V
4 Cells = 14.8 V
สรุป ยิ่งต่อกันมาก จำนวนแรงดันไฟฟ้าก็จะมากขึ้น
2. แบบขนาน (Parallel)
การต่อแบบนี้เพื่อเป็นการเพิ่มค่า " C " ของแบตเตอรี่ทั้งระบบ
ตัวอย่าง
ถ้า เรานำแบตเตอรี่ระบุ 1,000 mAh 15C จำนวน 2 ก้อน มาต่อกันเราจะได้แรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 1 ก้อน ( 3.7 v ) เท่าเดิม แต่จะได้กระแสเพิ่มเป็น 2,000 mAh และ C เพิ่มขึ้นเป็น 30c

3S2P หมายความว่ายังไง ?
3S คือแบตเตอรี่แพค 3 cells ต่อกับแบบ อนุกรม ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ 11.1 v
2P คือแบตแพค 3 cells อีกชุดหนึ่งมาต่อแบบ อนุกรม เพื่อเพิ่มกระแสและเพิ่มค่า "C"
ตัวอย่าง
ถ้าเรานำแบตเตอรี่ระบุ 1,000 mAh 15C มาต่อแบบ 3S2P ผลที่ได้คือ 11.1 v ุ 6,000 mAh 30c

การชาร์จแบต Li-po

+ +

การชาร์จแบตเตอรี่ li-po จะต้องใช้เครื่องชาร์จสำหรับชาร์จแบต li-po เท่านั้น
ห้ามนำไปชาร์จกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เครื่องชาร์จแบต li-po โดยเด็ดขาด!!!!!!
ตรวจสอบจำนวนเซลของแบตเตอรี่ให้ถูกต้อง ตามที่ระบุไว้ที่แบตเตอรี่
ตรวจสอบสายไฟต่างๆที่เครื่องชาร์จให้เรียบร้อย ว่าต่ออย่างถูกต้อง
ในการชาร์จ อุณหถูมิของแบตเตอรี่เตอรี่ต้องอยู่ระหว่าง 0 -50 c
ห้ามดึงสายขณะชาร์จไฟออกทันทีระหว่างดำเนินการชาร์จไฟ
ห้ามชาร์จในรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาขับรถอยู่
ห้ามชาร์จแบตเตอรี่ที่มีอาการบวม หรือเสียหาย
หากเกิดไฟไหม้ให้ใช้ทรายดับนะครับ ไม่ควรใช้น้ำ
หากชาร์จอยู่แล้วแบตเตอรี่เกิดบวม ให้หยุดชาร์จทันที และสังเกตุอาการประมาณ 15 นาที ก่อนนำไปทิ้งเพื่อความปลอดภัย

1 cell ของ lipo โดยปกติแล้วจะมีไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าที่ 3.7 v เมื่อชาร์จจนเต็มจะมีแรงดันไฟฟ้าที่ 4.2 v และห้ามให้แรงดันไฟฟ้าในตัวแบตเตอรี่เหลือน้อยกว่า 3.0 v เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เสียหายอย่างถาวรได้ เวลาชาร์จจะต้องระบุจำนวน เซลของแบตเตอรี่ และจำนวน มิลลิแอมป์ ในการตั้งค่าที่เครื่องชาร์จ ให้ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ที่แบตเตอรี่เท่านั้น
ห้ามตั้งค่าเกินกว่าที่ระบุอย่างเด็ดขาด อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ( ในเครื่องชาร์จราคาแพงบางรุ่นสามารถตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติ )

การเก็บรัษา

เก็บให้ห่างจากเด็ก
อย่าเก็บในกระเป๋าหรือถุงที่อาจทำให้เกิดการช๊อตได้
อย่าเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 c และมากกว่า 50 c
ห้ามเก็บในรถยนต์เด็ดขาด เนื่องจากเมื่อรถจอดอยู่กลางแจ้งจะมีอุณหภูมิสูง
ควรเก็บในถุงสำหรับเก็บเท่านั้น ( เพื่อความปลอดภัย )
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ควรทิ้งไว้โดยไม่ได้นำมามาใช้นานเกิน 6 เดือน ( ควรมีการชาร์จใหม่ภายใน 3-6 เดือน )
ห้ามเผาทำลาย ทุบ หรือทำให้เกิดการลัดวงจรอย่างเด็ดขาดครับ

ข้อควรระวังในการใช้แบตลิเทียมโพลิเมอร์

1. ระวังการต่อผิดขั้วทั้งด้านเข้าแผงวงจรและด้านการนำแบตออกไปชาร์จ การชาร์จแบตอย่าต่อโดยตรงกับสิ่งที่ไม่ใช่เครื่องชาร์จสำหรับแบตชนิดนี้ และควรอ่านเครื่องมือการใช้งานเครื่องชาร์จก่อนทุกครั้ง
2. ห้ามปรับกระแสชาร์จเกินความจุของแบต (ไม่เกินความจุสูงสุดของแบต) แบตอาจเสียหายอย่างรุนแรงได้
3. ควรชาร์จแบตในอากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิปกติ ห่างน้ำห่างไฟอยู่ในพื้นที่โล่งพื้นที่แข็ง-แห้ง ไม่มีวัตถุที่เป็นเชื้อไฟหรือที่ติดไฟง่ายอยู่ใกล้ๆ อย่าชาร์จแบตโดยตรงขณะแบตอยู่ในของเล่น ให้ถอดออกมาชาร์จข้างนอก และอย่าชาร์จในรถขณะที่ติดเครื่องยนต์
4. ดูแลแบตเสมอเมื่อชาร์จ หยุดชาร์จทันทีที่แบตร้อนเกินสัมผัส ได้กลิ่นไหม้หรือแบตบวม เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าแบตของคุณเสื่อมคุณภาพ หรือถ้าแบตของคุณต่อกันอยู่แบบอนุกรมกัน อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแบตก้อนหนึ่งเสีย
5. ห้ามชาร์จไฟตกต่ำกว่า 3 โวลท์ต่อก้อน จะทำให้แบตเสื่อมและฟื้นฟูได้ยาก
6. ถ้าชาร์จไฟแล้วไฟไม่เข้า หรือเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จะเต็มแล้วแต่ไฟไม่เต็ม ให้สงสัยไว้ก่อนว่าแบตเสีย อย่าฝืนชาร์จต่อ จะเกิดอันตรายได้
7. ถ้าพับตัวถ่านมาแนบกับตัวถ่าน ต้องมีฉนวนป้องกันระหว่างขั้วและตัวถ่าน เช่นเทปสองหน้า เทปใส หรือ พลาสติก
8. ขั้วถ่านมีสองขั้ว ด้านหนึ่งเป็นแถบโลหะธรรมดาเป็นขั้วลบ และอีกด้านหนึ่งเป็นโลหะซ้อนกันสองชั้นเป็น ขั้วบวก ที่ซ้อนกันสองชั้นเนื่องจาก โลหะที่ยื่นออกมาเป็นอลูมิเนียมซึ่งบัดกรีได้ยากทางโรงงานจึงต่อแผ่นโลหะที่ บัดกรีได้ง่ายซ้อนทับมาให้ การบัดกรีสายไฟควรทำให้เร็วที่สุดและอย่าพับขั้วไปมาหลายๆครั้งจะทำให้หัก ได้ง่าย
9. เก็บแบตในอุณหภูมิที่ปกติ
10. ระวังการเก็บไว้ในรถยนต์ที่จอดกลางแจ้ง เนื่องจากอุณหภูมิสูง
11. ห้ามแกะ ตัด ดัด ขัด เจาะ บีบ บิด กด ใช้เล็บจิก เผาไฟ หรือโยนทิ้งน้ำ ระวังการร่วงหล่นหรือการกระแทกรุนแรง ก่อนทิ้งแบตต้องดูดไฟให้หมดก่อน แบตนี้ประกอบด้วยสารเคมี ซึ่งมีพิษหลายตัว เช่น ลิเทียม, แมงกานีสไดออกไซด์ ดังนั้นอย่าแกะแบต ถ้ารั่วซึม และถ้าคุณบังเอิญไปสัมผัสให้ล้างด้วยสบู่ทันที
12. อย่าเก็บแบตที่ไม่มีสิ่งห่อหุ้มในกระเป๋าเสื้อผ้า รวมกับโลหะทั้งหลาย เช่น พวงกุญแจ เหรียญ ขณะใช้งาน หยิบจับระวังแหวน สร้อยคอ หรืออื่นๆที่อยู่ในตัวคุณที่ป็นโลหะมาสัมผัสขั้วแบตทั้งสองขั้ว และห้ามวางแบตที่ยังไม่ได้หุ้มห่อบนโลหะหรือจุดที่เสี่ยงต่อการช็อต
13. ห้ามช็อตขั้วแบตทั้งสองเข้าด้วยกัน
14. เก็บแบตหรือชาร์จแบตให้ห่างจากมือเด็ก